หลายชนิดมาอยู่ร่วมกัน ณ สถานที่หนึ่งหรือระบบนิเวศใดระบบนิเวศหนึ่ง
ความหลากหลายทางชีวภาพมี 3 ระดับ
1 ความหลากหลายทางนิเวศวิทยา ( Ecolosystem Diversity )
2 ความหลากหลายทางพันธุกรรม ( Genetic Diversity )
3 ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ ( Species Diversity )
ความหลากหลายทางระบบนิเวศวิทยา
โลกแต่ละส่วนมีความแตกต่างของชนิดและจำนวนสิ่งมีชีวิตรวมไปถึงลักษณะ
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อยู่ร่วมกัน และความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งมีชีวิตกับแหล่งที่อยู่อาศัย ความแตกต่างที่พบจากใต้ท้องทะเล บนพื้นที่ราบ จนถึงยอดเขาสูง | ||
ความหลากหลายทางพันธุกรรม
ในระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบด้วยกลุ่มสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด
แม้ในสิ่งมีชีวิตเดียวกันก็ยังมีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิด สายพันธุ์ต่างๆ อันเป็นรากฐานสำคัญที่เอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตสามารถ ดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ได้สืบไป
ความหลากหลายทางชนิดพันธ์(Species)
โลกของเรามีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดกว่า 1.5 ล้านชนิด เพื่อความ
สะดวกในการศึกษาจึงมีการจัดแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ โดยในแต่ละ กลุ่มที่มีการจัดกลุ่มย่อยที่เล็กลงไปตามลำดับจนถึงกลุ่มย่อยพื้นฐาน ที่สุดในระบบจำแนกสิ่งมีชีวิตเรียกว่า สปีชีส์ ( species ) สปีชีส์ คือ กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นประชากรเดียวกันผสมพันธุ์กันแล้ว ได้ลูกหลานสืบทอดต่อไป
ตัวอย่าง : คนทุกชาติในโลกสปีชีส์เดียวกัน คือ Homo sapiens
| ||
| ||
วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555
ความหลากหลายทางชีวภาพ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)